ข่าวสารเรื่อง FONT

ประวัติศาสตร์ของอักษร ชนิดแทนหน่วยเสียงมีจุดเริ่มต้นอยู่ในอียิปต์โบราณ อักษรแทนหน่วยเสียงชนิดแรกเป็นอักษรไร้สระ ปรากฏเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นผลงานของแรงงานชาวเซมิติกในอียิปต์ เพื่อใช้เขียนภาษาของตนเอง โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะซึ่งใช้คู่กับอักษรคำในอักษรไฮโรกลิฟฟิก อักษรอื่นๆ ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่พัฒนามาจากอักษรนี้รวมทั้งอักษรฟินิเชีย อักษรกรีกและอักษรละติน


          จุดกำเนิดในอียิปต์

เมื่อประมาณ 2,157 ปีก่อนพุทธศักราช ชาวอียิปต์โบราณพัฒนาอักษร 22 ตัว ใช้แสดงเสียงพยัญชนะ และสัญลักษณ์ตัวที่ 23 ใช้แสดงคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ ซึ่งใช้แสดงการออกเสียงของอักษรไฮโรกลิฟฟิกที่ใช้แทนคำ แสดงการผันทางไวยากรณ์ และใช้ถ่ายเสียงคำยืมจากภาษาอื่น แต่ตัวอักษรเหล่านี้ไม่ได้ใช้ในระบบอักษรแทนหน่วยเสียง ระบบอักษรแทนหน่วยเสียงปรากฏครั้งแรกเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช โดยคนงานชาวเซมิติกในอียิปต์ตอนกลาง อีก 500 ปีต่อมา อักษรนี้ได้แพร่กระจายขึ้นไปทางเหนือ และเป็นต้นกำเนิดของอักษรต่างๆทั่วโลก ยกเว้นอักษรเมรอยติกที่พัฒนาจากไฮโรกลิฟฟิกเมื่อ พ.ศ. 243 ในนูเบีย อียิปต์ใต้

          อักษรตระกูลเซมิติก

อักษรเหล่านี้ไม่ได้มาจากสัญลักษณ์แทนพยัญชนะของชาวอียิปต์ แต่เป็นการรวมอักษรไฮโรกลิฟฟิกอื่นๆเข้ามาด้วย ทั้งหมดมี 30 ตัว กำหนดชื่อเป็นภาษาเซมิติกเช่น ไฮโรกลิฟ per (บ้าน ในภาษาอียิปต์) กลายเป็น bayt (บ้าน ในภาษาเซมิติก) เมื่อนำมาเขียนภาษาเซมิติกจะเป็นระบบพยัญชนะล้วน โดยอักษรแต่ละตัวแทนเสียงพยัญชนะตัวแรกของชื่อ เช่น รูปบ้าน beyt ใช้แทนเสียง b หรือใช้แทนทั้งเสียง b และลำดับพยัญชนะ byt ดังที่ใช้แทนเสียง p และลำดับพยัญชนะ pr ในภาษาอียิปต์ ในยุคที่ชาวคานาอันนำอักษรนี้ไปใช้ จะใช้แทนเสียง b เท่านั้น  ไม่มีหลักฐานว่าอักษรเซมิติกเริ่มต้นมีจำนวนเท่าใดและเรียงลำดับอย่างใด อักษรที่พัฒนาต่อมานั้น อักษรยูการิติคมี 27 ตัว และอักษรฟินิเชียมี 22 ตัว การเรียงลำดับของอักษรเหล่านี้มี 2 แบบ คือ ลำดับ ABGDE ของอักษรฟินิเชีย และลำดับ HMĦLQ ของอักษรทางใต้ อักษรยูการิติกใช้ทั้ง 2 แบบ ชื่อของอักษรมักใช้ตามอักษรฟินิเชีย ทั้งอักษรซามาริทัน อักษรอราเมอิก อักษรซีเรียค อักษรฮีบรูและอักษรกรีก แต่ต่างไปในอักษรอาหรับและอักษรละติน แต่ไม่มีการใช้ชื่ออักษรในอักษรพราหมีและอักษรรูนิก

          ลูกหลานของอักษรเซมิติก

อักษรคานาอันไนต์ระยะแรกใช้แทนเสียงพยัญชนะเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่าอักษรไร้สระ และพัฒนาต่อไปเป็นอักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิกที่พัฒนาไปจากอักษรฟินิเชียซึ่งใช้เขียนภาษาราชการของจักรวรรดิเปอร์เซียเป็นบรรพบุรุษของอักษรอื่นๆในเอเชีย ได้แก่
  • อักษรฮีบรูสมัยใหม่ พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกผ่านทางอักษรซามาริทัน
  • อักษรอาหรับ พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกผ่านทางอักษรนาบาทาเอียน ทีใช้ในจอร์แดนตอนใต้
  • อักษรซีเรียค พัฒนามาจากอักษรปะห์ลาวีและอักษรซอกเดียเป็นต้นแบบของอักษรออร์กอน อักษรอุยกูร์ อักษรมองโกเลียและอักษรแมนจู
  • อักษรจอร์เจีย อาจมาจากอักษรอราเมอิกผ่านทางอักษรในเปอร์เซียหรืออักษรกรีก
  • อักษรอราเมอิกอาจเป็นบรรพบุรุษของอักษรพราหมีที่พัฒนาไปเป็นอักษรทิเบต อักษรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ใช้ในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู
  • อักษรฮันกึล ที่ใช้เขียนภาษาเกาหลี มีหลักฐานบางส่วนแสดงว่า อาจมาจากอักษรทิเบตผ่านทางอักษรพัก-ปา แต่ที่แปลกกว่าอักษรอื่นคือ รูปแบบของอักษรมาจากอวัยวะที่ใช้ออกเสียง
อีกทางหนึ่ง อักษรฟินิเชียพัฒนาไปเป็นอักษรกรีกและอักษรเบอร์เบอร์โบราณ และเริ่มมีการกำหนดอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ ตัวอย่างเช่น ภาษากรีก ไม่มีเสียง อ หรือ ฮ (h) ดังนั้น อักษรฟินิเชีย ’alep และ he กลายเป็นอักษรกรีก อัลฟา และ e (ต่อมาคือเอฟซิลอน) และใช้แทนเสียงสระอะ (/a/) และเอ (/e/) แทนเสียง /อ/ และ /ฮ/ เนื่องจากภาษากรีกมีเสียงสระ 6 -12 เสียง ชาวกรีกจึงพัฒนาอักษรเพิ่ม เช่น ei, ou, and o (ต่อมาคือ โอเมกา)
อักษรกรีกเป็นต้นแบบของอักษรสมัยใหม่ในยุโรป เช่นอักษรละตินและอักษรอิตาลีโบราณ โดยอักษรเหล่านั้นมีสัญลักษณ์แทนเสียงสระด้วย เช่น อักษรกลาโกลิติก อักษรซีริลลิก อักษรอาร์เมเนีย อักษรโกธิกและอาจรวมอักษรจอร์เจียด้วย
นอกจากความสัมพันธ์ในแนวเส้นตรงดังกล่าวแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างอักษรในด้านอื่นๆอีก เช่น อักษรแมนจู มาจากอักษรไร้สระในเอเชียตะวันตก แต่ได้รับอิทธิพลจากอักษรฮันกึลด้วย อักษรจอร์เจียมาจากอักษรอราเมอิกแต่ได้รับอิทธิพลจากอักษรกรีก อักษรกรีกที่ปรับปรุงแล้วนำไปใช้คู่กับไฮโรกลิฟ 6 ตัว ใช้เขียนภาษาคอปติก อักษรครีมีลักษณะผสมระหว่างอักษรเทวนาครีและชวเลขของพิตแมน และมีลักษณะคล้ายตัวเขียนของอักษรละติน

          อักษรอิสระ

อักษรที่ใช้ในปัจจุบันและไม่อาจย้อนกลับไปหาอักษรคานาอันไนต์ได้ คือ อักษรทานะ แม้ว่าจะดูเหมือนอักษรอาหรับ แต่ที่จริงแล้วมาจากตัวเลข อักษรโซมาลีที่ใช้ในโซมาลีเมื่อ พ.ศ. 2463 และเป็นอักษรราชการคู่กับอักษรละตินจนถึง พ.ศ. 2515 มีรูปร่างพยัญชนะที่ถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ อักษรสันตาลีที่ใช้ในเอเชียใต้ มีพื้นฐานจากสัญลักษณ์ทั่วไป อักษรโอคัมในสมัยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องหมายที่เป็นขีด และจารึกในสมัยจักรวรรดิเปอร์เซีย เคยเขียนในรูปแบบอักษรรูปลิ่ม และมีการใช้ในระบบอักษรเป็นครั้งคราวอักษรในสื่ออื่นๆ
เมื่อสื่อที่ใช้เขียนอักษรเปลี่ยนไปทำให้รูปร่างของอักษรเปลี่ยนไปได้ เช่นอักษรยูการิติกที่เป็นอักษรรูปลิ่ม อาจจะมาจากตระกูลเซมิติก การประดิษฐ์หรือปรับปรุงอักษรใหม่ๆยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้งอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น อักษรเบรล รหัสมอร์ส ชวเลข
อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3#cite_note-1


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น